คนห้าแผ่นดิน : ประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต
วันที่ : 543 1,826 ครั้ง

ย้อนอดีตไปสมัยต้นรัชกาลที่ 5 ที่คนห้าแผ่นดินถือกำเนิดขึ้น พวกเขาได้ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มาแล้วเป็นเวลา เกินกว่า 1 ทศวรรษ ในรัชสมัยปัจจุบัน พวกเขาเหล่านี้คือ “ คนห้าแผ่นดิน ” ที่มีอายุเกิน 100 ปี หรือที่ได้เรียกว่า “ ศตวรรษิกชน ” นับเป็นความโชคดีที่มรดกของแผ่นดินยังคงอยู่ และได้ถ่ายทอดเรื่องราวสังคมในอดีตได้อย่างมีชีวิตชีวา ซึ่งผู้เขียนยกความสำคัญของท่านเหล่านี้เป็น “ ประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต ”

ความน่าอ่านของหนังสือเล่มนี้ คือ ผู้เขียนได้เล่าเรื่องราว สารคดีเชิงประวัติสาสตร์ ที่มีแง่มุมของผู้ที่อยู่ห้าแผ่นดิน โดยไม่มีใครทำมาก่อน และที่สำคัญสุด ผู้เขียนไม่ลืมนำเอาวรรณกรรมเรื่อง สี่แผ่นดิน นิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สอดแทรกไว้พร้อมวิเคราะห์แก่นด้วยมุมมองของนักประชากรศาสตร์“ ...ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ท่านเขียน “ สี่แผ่นดิน ” ให้เป็นเรื่องละคร มิได้ตั้งใจจะเขียนให้เป็นประวัติศาสตร์ ท่านจึงไม่ได้เน้นให้เป็นเรื่องจริงจังว่าตัวละครคนไหนเกิดเมื่อไร ตายเมื่อไร และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของแต่ละคนนั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ใด ผมจึงขอถือวิสาสะในฐานะผู้อ่านที่เป็นนักประชากรศาสตร์สอดรู้สอดเห็นแกะรอยฟื้นฝอยหาตะเข็บปีเกิดตาย สาเหตุการตาย และอายุของตัวละคนสำคัญในเรื่อง “ สีแผ่นดิน ” เพื่อเปิดประเด็นสนทนากันในหมู่ผู้ชื่นชอบวรรณกรรม “ สีแผ่นดินต่อไป ”นอกจากนี้ ภายในหนังสือเล่มนี้ ยังมีสาระสำคัญที่ชวนติดตาม ไม่ว่าจะเป็นสัมภาษณ์ย่าทวดที่มีอายุ 108 ปี ซึ่งมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า อายุยืนยาวมากที่สุดในประเทศไทย , ศตวรรษิกชน-คนร้อยปี, ผู้มีอายุสูงสุดในโลก ณ ปัจจุบัน และการนับอายุของคนที่เกิดในปีนักษัตร

เชื่อว่า ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ เมื่อได้จับแล้ว ต้องอ่านให้จบโดยทันใด หนังสือ “ คนห้าแผ่นดิน: ประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิต ” เป็นหนังสือที่ควรเก็บรักษาไว้ เพราะมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับประชากรในสมัยต่างๆ ทั้ง 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9 รัชกาลในปัจจุบัน และเป็นหนังสือที่ผู้เขียนที่ได้จัดทำขึ้นในวาระพิเศษเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ราคาเล่มละ 159 บาท รายได้จากการจำหน่ายหนังสือนี้ จะนำเข้าสมทบทุนมูลนิธิพระดาบส จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ http://www.chulabook.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 0-2255-4433


สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170