ประเทศไทย ควรมีพลเมืองเท่าไรจึงจะดี
วันที่ : 543 1,560 ครั้ง

โดย ปราโมทย์ ประสาทกุล

หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าโครงสร้างทางประชากรไทยที่เป็นอยู่ และกำลังจะเปลี่ยนไป เช่น จำนวนคนแก่ที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้หญิงที่มีมากกว่าชาย หรือจำนวนคนเกิดที่มีน้อยลง จะมีผลต่อเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะในฐานะลูกหลานของครอบครัว คนวัยกลางคนหรือใกล้เกษียณ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ นักการเมือง นักธุรกิจ ลูกจ้าง หมอและพยาบาล นักสังคมศาสตร์ และคนในทุกสาขาอาชีพ...

คำถามที่เคยสงสัย เช่น ทำไมคนรุ่นอายุราว 26 - 46 ปีใน พ.ศ. 2552 หรือคนที่เกิดใน พ.ศ. 2506 - 2526 ซึ่งปราโมทย์ ประสาทกุล เรียกคนรุ่นนี้ว่า "ประชากรรุ่นเกิด(เกิน)ล้าน" จะต้องสอบแข่งขันกันสอบเข้ามหาวิทยาลัย จนทำให้โรงเรียนสอนพิเศษผุดขึ้นราวดอกเห็ด ผิดกับคนรุ่นพ่อแม่ที่การแข่งขันนั้นยังไม่หนักหน่วง หรือทำไมในเวลานี้ สาวๆ มักจะบ่นกันว่า "เมื่อมองไปทางไหนก็พบเจอแต่เพื่อนฝูงเพศเดียวกัน หาชายหนุ่มที่ยังไม่มีคู่ครองได้ยากขึ้นทุกที" ฯลฯ

เรื่องราวพร้อมข้อมูลสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับประชากรไทยและประชากรโลกในหนังสือเล่มนี้จะตอบคำถาม เรื่องประชากรศาสตร์ที่ค้างคาใจของใครหลายคนได้


สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170