Synthesis of Long-term Care System for the Elderly in Thailand
คำนำ :ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมประชากรชราภาพ (Ageing population) แล้ว จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว อายุขัยเฉลี่ยของประชากรรวมและผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ขณะเดียวกันประเทศไทยเรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของปัญหาสุขภาพ (Epidemeological transition) จากภาวะเจ็บป่วยเฉียบพลันด้วยโรคติดต่อไปยังการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการบาดเจ็บ ทั้งสองเหตุการณ์นำไปสู่ลักษณะความจำเป็นด้านสุขภาพของคนไทยที่เปลี่ยนไปซึ่งต้องการการดูแลที่เปลี่ยนไปจากเดิมเช่นกัน ความต้องการบริการดูแลที่มีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เช่น การดูแลระยะกลางและระยะยาว มีมากขึ้น ในขณะที่ระบบยังปรับตัวไม่ทัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็น ที่สังคมไทยต้องมีการพัฒนาระบบบริการรองรับกับสภาพดังกล่าวอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม ข้อเสนอในรายงานชิ้นนี้มาจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่มีและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับคนทำงานในพื้นที่ เพื่อให้ได้ข้อเสนอเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะกลาง/ระยะยาวที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่ได้ ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวอาจยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทยนอกจากจะนำไปพัฒนานำร่องในบางพื้นที่ก่อน
นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์
พญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ
จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
ดาวโหลดได้ที่นี่ค่ะ การสังเคราะห์ ระบบการดูแลผู้สูงอายุ ในระยะยาวสำหรับประเทศไทย