หลายๆ คนที่สนใจในประเด็นผู้สูงอายุ อาจจะเคยได้ยินคำว่า "ศตวรรศษิกชน" (Centenarian) หรือ "คนร้อยปี" กันมาบ้างแล้ว แล้วเคยสงสัยหรือไม่ หากคนที่มีอายุมากๆ เกิน 110 ปี เราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่าศตวรรษิกชนด้วยหรือไม่ หรือมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก
คำตอบที่สงสัย ถูกค้นพบจาก หนังสือเรื่อง "ประเทศไทย ควรมีพลเมืองเท่าไรจึงจะดี" ของ ศาสตราจารย์ ดร.ประโมทย์ ประสาทกุล (2552) มาไขข้อสงสัยพร้อมๆ กันเลยค่ะ "อายุขัยของมนุษย์มีแนวโน้มที่จะยืนยาวขึ้นอีก อันเป็นผลมากจากการพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุข การดูแลสุขภาพ และแบบการใช้ชีวิตของประชากร ศตวรรษิกชนและอภิศตวรรษิกชนในโลกนี้กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วปัจจุบัน ข้อมูลเกี่ยวกับคนที่มีอายุเกินร้อยปีเหล่านี้ มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานเชื่อถือได้มากขึ้น เราสามารถติดตามและพิสูจน์ข้อมูลคนร้อยปีได้แน่นอนมากขึ้น เดี๋ยวนี้การที่บุคคลโดยเฉพาะผู้หญิงจะมีอายุเกิน 110 ปี เป็น "อภิศตวรรษิกชน" กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว ที่จริงศัพท์คำว่า Supercentenarian หรือ อภิศตวรรษิกชนนี้ก็บัญญัติขึ้นมาเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีอายุยืนยาวมากๆ กลุ่มนี้นั่นเอง ศัพท์คำนี้ นอร์ริส แมคเวิร์ธเตอร์ บรรณาธิการของหนังสือกินเนสส์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นในทศวรร 1970
ประมาณกันว่า ปัจจุบันมีอภิศตวรรษิกชนอยู่ในโลกนี้ไม่เกิน 1,000 คน และประมาณว่าผู้มีอายุ 110 ปี เพียง 2% ที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนถึง 115 ปี ดังนั้น ปัจจุบันจึงน่าจะมีผู้มีอายุ 115 ปีอยู่ไม่เกิน 20 คน ข้อมูลสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ขณะนี้ไม่มีผู้ใดอายุถึง 115 ปี และยังมีชีวิตอยู่ โดยที่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดอยู่ในโลกนี้เลย
ข้อมูลเกี่ยวกับอภิศตวรรษิกชนที่นำเสนอมานี้ มีความสำคัญต่อการคาดประมาณจำนวนคนร้อยปีในประเทศไทย มีความสำคัญต่อการคาดประมาณจำนวนคนร้อยปีในประเทศไทย ถ้าเราไปพบอภิศตวรรษิกชนไทยที่มีอายุเกินกว่า 110 ปี ไม่ว่าจะยืนยันด้วยหลักฐานทะเบียนบ้านหรือคำกล่าวอ้างใดๆ ก็ขอให้สงสัยไว่ก่อนว่าวันเดือนปีเกิดตามหลักฐานที่อ้างนั้นดูกต้องน่าเชื่อถือได้หรือไม่" ปราโมทย์ ประสาทกุล (2552: 177)
สุดท้ายนี้ ผู้อ่านทุกท่านคงได้เกร็ดความรู้ทางประชากรศาสตร์ไปบ้างจากการอ่านเรื่องราวข้างต้นนี้ เป็นต้นว่า "ศตวรรษิกชน" คือคนที่มีอายุหนึ่งร้อยปีขึ้นไป แต่หากมีอายุมากๆ เกิน 110 ปี ก็จะถูกเรียกว่า "อภิศตวรษิกชน"